วัถุประสงค์ของสมาคม
(True Enlightenment Practitioners Association – TEPA)
พุทธสมาคมร่วมบำเพ็ญสัมมาโพธิญาณคือองค์การที่ประกอบด้วยคณะสงฆ์โพธิสัตว์มหายานและเหล่านักเรียนธรรมะทั้งหลายที่มีท่านธรรมจารย์เซียวผิงสือเป็นผู้นำ สมาคมเราได้เริ่มการสอนธรรมะอย่างเป็นทางการตั้งแต่ปี1997 เราเผยแผ่พระธรรมที่ยึดถือตถาคตครรภ์เป็นหัวใจ มุ่งหวังให้ผู้บำเพ็ญได้บรรลุธรรมทั้งสามยานแห่งพระพุทธศาสนา ( คือ สาวกยาน ปัจเจกยาน และโพธิสัตวยาน ) พระธรรมนี้ได้จัดตั้งขึ้นโดยพระโพธิสัตว์เสวียนจั้ง ( ถังซัมจั๋ง ) ซึ่งมีการประสานวัฒนะธรรมของประเทศจีนเข้ามาอยู่ด้วย
สมาคมร่วมบำเพ็ญสัมมาโพธิญาณประกอบด้วยธรรมจารย์ผิงสือและครูสอนธรรมะหลายสิบท่าน ท่านทั้งหลายล้วนเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ซึ่งยึดถือสัมมาธรรมเป็นหลักเกรฑ์ในการเผยแผ่พระธรรมและโปรดสรรพสัตว์ด้วยความวิริยะอุตสาหะมาเป็นเวลากว่า20ปีแล้ว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะแห่งสำนักที่วิสุทธิ์แต่ดูธรรมดา ในหลักสูตรการสอนพระธรรมจะมีการใช้ธรรมทวาร ( อุบายวิธีในการปฎิบัติธรรม ) “ สวดพระนามแบบไร้รูป ” เป็นอุบาย ซึ่งสามารถพัฒนาให้เกิดทักษะในการ “ คั่นฮ้วาโถ ” ได้ในภายหลัง กล่าวคือ “ คั่นฮ้วาโถ ” นั้นเป็นวิธีที่ใช้ในการไขโกอันของนิกายเซน มันสามารถทำให้บรรลุธรรมแบบฉับพลันในนิกายเซนแห่งมหายานในจีนได้ การบรรลุธรรมนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการพิสูจน์ปรมัตถสัจแห่งพุทธธรรม ผู้บรรลุยังต้องหมั่นบำเพ็ญโพธิสัตวมรรคต่อไปเรื่อยๆโดยไม่หยุดยั้งเพื่อไต่เต้าไปยังชั้นภูมิที่สูงกว่า ในขณะเดียวกันท่านจะกลายเป็นพระโพธิสัตว์ผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นตัวแทนและผู้สืบทอดของนิกายเซนในวัฒนธรรมจีนได้อย่างแท้จริง
สิ่งพิมพ์ในภาษาไทย
วิธีการบำเพ็ญเพื่อให้บรรลุโมกขธรรม
ธรรมาจารย์เซียวผิงสือ
蕭平實導師
ในวงการพระพุทธศาสนาปัจจุบัน ได้มีการเข้าใจผิดในพระธรรมอย่างแพร่หลาย ธรรมาจารย์ผิงสือ ผู้ได้พิสูจน์ประจักษประมาณของ " พีชญาณแห่งโพธิมรรค " ได้เป็นผู้นำคณะอริยสงฆ์โพธิสัตว์แห่ง " สมาคมร่วมบำเพ็ญสัมมาโพธิ " ซึ่งเป็นองค์การที่เผยแผ่ " สองวิถีหลัก " แห่งพุทธธรรม คือโมกขธรรม ( อรหัตมรรค ) และพุทธมรรค (โพธิสัตวมรรค ) เพื่อให้ชาวโลกสามารถเข้าใจในหลักธรรมและระดับชั้นในการบรรลุธรรมแห่งพุทธศาสนาได้อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสิ่งที่มีค่าและหายากในวงการพุทธศาสนาพุทธปัจจุบัน การบรรลุผลแห่ง " โมกขธรรม " มีสี่ระดับด้วยกันคือ: โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตผล โดยอาศัยการละสักกายทิฏฐิเป็นพื้นฐาน แล้วค่อยๆละอุปกิเลสในขั้นต่อไป ส่วน "พุทธมรรค" นั้นจะอาศัยการ " รู้แจ้งโพธิจิต " เป็นพื้นฐานแล้วมุ่งบำเพ็ญ " บุญกุศลและปัญญาให้สมบูรณ์เพื่อสำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
จิตแปดดวงที่วิเศษ
八個奇妙的心
แปดดวงจิตที ่วิเศษ
คนเรามีจิต(วิญญาณ)กี่ดวงกันแน่? สำหรับปัญหานี้ นักจิตวิทยา นักประสาทวิทยา และนักปรัชญา ต่างคนต่างก็มีคำตอบที่ไม่เหมือนกัน
พวกเขาจำแนกจิตของมนุษย์ตามคุณสมบัติที่ต่างกันหรือตามส่วนต่างๆที่ไม่เหมือนกัน แล้วคุณอยากรู้ไหมว่าพระพุทธเจ้าได้ตรัสใว้ว่าอย่างไร?